รับเจาะคอร์ริ่ง,รับคอริ่ง,รับเจาะผนัง,รับเจาะเปิดช่องสายไฟ รับเจาะพื้นผนังคอนกรีต,รับเจาะคอริ่งเดินท่อในระบบประปา,รับเจาะคอริ่งเดินท่อในระบบปรับอากาศ เจาะคอริ่งคอนกรีตเพื่อเดินสายไฟ หรือระบบไฟฟ้า,รับเจาะเช็คความหนาของถนนคอนกรีต,รับเจาะติดตั้งฐานเครื่องจักร เพื่อยึด Bolt เจาะเสียบเหล็กข้ออ้อยเสริมโครงสร้าง,รับเจาะแก้ไขทางระบายน้ำ หรือเจาะเพื่อเปิดผิวคอนกรีต
 สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

รับเจาะคอนกรีต,รับเจาะผนังคอนกรีต,งานคอร์ริ่ง

บริษัททรีเมนพาวเวอร์คคอร์ริ่งเวอร์ค

สถานที่ตั้ง:44/174 หมู่15 ถ.พหลโยธิน ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี12120

โทร 029866467 มือถือ 0818589362  Line id = sunya1123


ติดต่อขอใบเสนอราคา คลิกที่นี่.






Specification
STUD BOLT พุกเหล็ก สตัดโบลท์ ขนาด 3/8 นิ้ว [A] ขนาด
เกลียว
[D] ขนาด
รูดอกสว่าน
[L] ขนาด
แกนยาว
[H] ขนาด
ปลอกยาว
1/4" 8 mm. 50 mm. 38 mm.
5/16" 10 mm. 65 mm. 43 mm.
3/8" 12 mm. 70 mm. 45mm.

 

STUD BOLT พุกเหล็ก สตัดโบลท์ ขนาด 3/8 นิ้ว

พุก คือ อุปกรณ์สำคัญในงานก่อสร้าง ทำหน้าที่ยึดวัตถุเข้ากับพื้นหรือฐานรองรับ ไม่ว่าจะเป็น นอตหรือสกรูเข้ากับผนังหรือพื้น ยึดวัสดุหรือเครื่องจักรกับพื้นคอนกรีต เป็นต้น พุกมีหลายชนิดหลายประเภท ผู้ใช้งานหรือผู้ติดตั้งควรมีความเข้าใจ และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เพื่อให้เกิดความคงทนและความปลอดภัย

ในส่วนของงานก่อสร้างชนิดของพุก อาจแบ่งตามประเภทของวัตถุดิบที่ผลิตได้ดังนี้

  1. พุกไนล่อน หรือ พุกพลาสติก
  2. พุกเหล็ก หรือ พุกโลหะผสม
  3. พุกเคมี

 

พุกเคมี คือ อุปกรณ์ช่วยยึดเกาะที่มีลักษณะเป็นหลอดแก้ว ด้านในบรรจุเคมีเพื่อช่วยยึดตะปูเกลียว (น็อตหรือสกรู) เข้ากับพื้น, ผนัง หรือส่วนของโครงสร้าง เหมาะสำหรับการติดตั้งที่ต้องการแรงยึดเหนี่ยวสูง หรือรับน้ำหนักมาก ใช้ได้กับทั้งอิฐชนิดต่างๆ และคอนกรีต

ในการติดตั้งช่างจะทำการเจาะรูบนคอนกรีต จากนั้นทำความสะอาดรูที่เจาะ แล้วจึงสอดพุกเคมีเข้าไป ตามด้วยตะปูเกลียว

หลักการทำงาน ตัวพุกส่วนที่เป็นแก้วจะแตกเพื่อให้กาวเคมีชนิดพิเศษที่มีแรงยึดเหนี่ยวสูงและแข็งตัวไวช่วยยึดตะปูเกลียวให้ติดแน่น

 

พุกเคมี แบ่งได้ 2 ประเภท หลักๆ คือ

พุกเคมีหลอดแก้วชนิดปั่น
นิยมติดตั้งใช้ร่วมกับสตัดเกลียว ขนาด M10 ถึง M24 ใช้ได้ทั้งงานติดตั้งและต่อเติม หรือเสริมโครงสร้างที่รับน้ำหนักสูง เหมาะกับงานติดตั้งที่ต้องการรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี

พุกเคมีหลอดแก้วระบบตอก
พุกเคมีประเภทนี้จะใช้งานง่ายและเหมาะสำหรับติดตั้งร่วมกับ เหล็กข้ออ้อย (DB) และสตัดเกลียวเหล็กแข็ง หรือสตัดเกลียวสแตนเลส

 

พุกตะกั่ว กับความเหมาะสมในการใช้งาน

อ่านเจอคำถามน่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกใช้งานพุกตะกั่ว น่าจะเป็นประโยชน์กับหลายท่านที่ต้องประเมินความเหมาะสมในการเลือกใช้งาน ลองติดตามในบทความนี้ครับ

ผมต้องการยึดแป้นที่มีห่วงเพื่อไว้คล้องสายสำหรับออกกำลังกาย อาจมีการโหน ห้อย ซึ่งต้องรองรับน้ำหนัก และแรงค่อนข้างมาก โดยต้องการยึดกับคานปูนกว้างประมาณ 6-7 นิ้ว (แนวคานโค้งส่วนตรงกลางในรูป)โดยแป้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 นิ้ว มีรูไว้ยึดอยู่ 2 รู ผมมีพุกตะกั่ว 3/8 Bolt

 

รบกวนสอบถามว่า การยึดด้วยพุกตะกั่วนี้จะรองรับน้ำหนักได้หรือไม่? เหมาะสมหรือไม่? รบกวนช่วยแนะนำด้วยครับ

 

คำตอบจากท่านนึงน่าสนใจ และช่วยให้ความรู้ได้เป็นอย่างดี

 

ความสามารถในการรับแรงดึงของพุก (ANCHOR BOLT) ก็ขึ้นก็ค่า pull out load ของพุกแต่ละชนิด ซึ่งขึ้นกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และระยะฝังของพุก
แต่ไม่ทราบว่าอุปกรณ์ที่จะติดตั้งมันมีแป้นกี่อัน  ถ้าอันเดียวก็มีพุก 2 ตัว แบ่งกันรับน้ำหนักผู้เล่น+อุปกรณ์

ถ้า (นน.ผู้เล่น+อุปกรณ์)/2 น้อยกว่า ค่า pull out load ของพุกก็ใช้ได้ ซึ่งถ้าเลือกใช้พุกขนาด 3/8 นิ้ว ค่า pull out load ได้ 2,500 กก. ก็น่าจะเหลือเฟือ

การฝังพุก สิ่งสำคัญคือความสะอาดของรูเจาะ ต้องเจาะให้ลึกเท่าความยาวพุก และเป่าลมทำสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ขัน bolt ให้สุดจนส่วนที่ฝังเบ่งออกเต็มที่จึงจะรับน้ำหนักได้ตามต้องการ

 

  • การรับแรงยังขึ้นกับระยะห่างของพุกแต่ละตัว (ในกรณีมีมากกว่า 1 ตัว) ด้วย เนื่องจากแนวแรงซึ่งมีลักษณะเป็นรูปโคนของพุกแต่ละตัวจะซ้อนกัน  ทำให้ความสามารถในการรับแรงของแต่ละตัวลดลง
  • รวมทั้งยังขึ้นกับกำลังของคอนกรีตที่พุกฝังอยู่ด้วย  สำหรับกรณีของเจ้าของกระทู้  คานที่จะยึดพุกได้ฉาบปูนตกแต่งไว้แล้ว    พุกที่ฝังเข้าไปจะยึดกับคอนกรีตคาน (โครงสร้าง) ไม่ตลอดความยาว แต่มีบางส่วนยึดกับปูนฉาบ ซึ่งมีกำลังต่ำกว่าคอนกรีตโครงสร้างมาก
  • ค่า pull out load ตามตารางน่าจะเป็นแรงที่ใช้ดึงพุกจนหลุดออกมา (ในสภาวะควบคุม) ฉนั้นการใช้งานจริงคงต้องเผื่อค่าความปลอดภัยไว้ด้วย   มีเอกสารแนะนำว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 25% ของค่าสูงสุด ฉนั้น ค่า pull out load ขนาด 2,500 กก.ต่อตัว ยังเหลือใช้งาน 625 กก.
  • ตารางที่ link ไว้เป็นของพุกเหล็ก  ถ้าใช้พุกตะกั่ว คงต้องไปลองค้นหาตารางของผู้ผลิต และที่ควรระวังคือปูนฉาบ ไม่ทราบว่าหนามากไม๊  ถ้าหนามากแทนที่พุกจะยึดกับคอนกรีตโครงสร้าง มันจะยึดแต่ปูนฉาบ ทีนี้พุกมันก็จะดึงให้ปูนฉาบหลุดออกจากคอนกรีต รับแรงไม่ได้ตามต้องการ

การใช้งานพุกเคมี

ความรู้และวิธีการใช้งานพุกเคมี ในสื่อภาษาไทยยังถือว่ามีอยู่น้อยมาก การทำงานหรือการนำไปปฏิบัติงานจริง ผู้ใช้จะอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดได้

ในบทความนี้ เราได้นำ โครงงานทางวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มานำเสนอ โดยเนื้อหาในโครงงานนี้นับว่ามีประโยชน์มากๆ

ในโครงงานนี้ได้เข้าไปศึกษากําลังรับแรงดึงของพุกเคมี (Chemical Bolt) ที่ฝังในคอนกรีต

มีการทดสอบกับพุกเคมีหลากหลายชนิด

  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M8 Chemical Bolt ชนิด Sika Anchor Fix-2
  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M10 Chemical Bolt ชนิด Sika Anchor Fix-2
  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M12 Chemical Bolt ชนิด Sika Anchor Fix-2
  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M8 Chemical Bolt ชนิด HIT-HY 150
  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M10 Chemical Bolt ชนิด HIT-HY 150
  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M12 Chemical Bolt ชนิด HIT-HY 150
  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M10 Chemical Bolt ชนิดแคปซูล HVU
  • กําลังรับแรงดึงสลักเกลียว (Bolt) ขนาด M12 Chemical Bolt ชนิดแคปซูล HVU
  • และอื่นๆ อีกหลายชนิด และหลายรูปแบบการทดสอบ

ต้องขอขอบคุณทีมผู้วิจัยโครงงาน และอาจารย์ผู้ดูแล ความรู้จากการทดสอบนี้จะเป็นประโยชน์และเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน ตลอดจนวงการก่อสร้างไทยได้อย่างมาก

view